บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่3
วันพุธ ที่ 31 มกราคม 2561
การเรียนการสอน
บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร
บทบาทของผู้บริหาร ผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์
เมื่อกล่าวถึงผู้นำ คนส่วนใหญ่จะคิดถึงภาพของผู้ที่มีอำนาจ มีตำแหน่งใหญ่โต
มีอิทธิพล ต่อผู้อื่น
ผู้นำที่ยิ่งใหญ่สามารถสั่งการได้
หรือเดินตามในทิศทางที่ผู้นำก้าวเดินหรือกำหนดให้ ผู้คนเกรงกลัว
นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในการบริหาร
ผู้นำยังคงเป็น
ความคาดหวังสูงสุดในการแบกรับภาระนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จแต่ทว่าบทบาทผู้นำในยุค
ของพระนเรศวรมหาราชกับผู้นำของวันนี้แตกต่างกัน
โดยสิ้นเชิงโดยเฉพาะในโลกของธุรกิจหากผู้นำคนใดยังผูกขาดการตัดสินใจไม่ยอมสร้างการมีส่วนร่วม ก็ยากที่จะนำพาองค์กรหรือประเทศอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนและที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือผู้นำยุคนี้ต้องทำงานเชิงรุกเพื่อสร้างความได้เปรียบอยู่เสมอ
ความรู้เกี่ยวกับผู้นำ
ความหมายและประเภทของผู้นำ
ผู้นำ (Leader) หมายถึง บุคคลที่มีศิลปะ)
บุคลิกภาพความสามารถเหนือบุคคลทั่วไป
สามารถชักจูงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามที่ต้องการได้
ส่วนความเป็นผู้นำ (Leadership) เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ผู้บริหารทุกคนควรเป็นผู้นำ และมีภาวะผู้นำ
แต่ผู้นำไม่สามารถเป็นผู้บริหารที่ดีได้ทุกคน
เพราะผู้บริหารต้องมีทักษะ
มีความสามารถในหน้าที่ของผู้บริหารด้วย
ประเภทของผู้นำ
1.ผู้นำตามอำนาจหน้าที่ เป็นผู้นำโดยอาศัยอำนาจหน้าที่(Authority)และมีอำนาจบารมี (Power) เป็นเครื่องมือ
มีลักษณะที่เป็นทางการ (Formal) และไม่เป็นทางการ (Informal) เกิดพลังร่วมของกลุ่มในการดำเนินงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
อำนาจนี้ได้มาจาก กฎหมาย กฎระเบียบ หรือขนบธรรมเนียม ในการปฏิบัติ
จำแนกผู้นำประเภทนี้ออกเป็น 3 แบบ คือ 1 ผู้นำแบบใช้พระเดช 2 ผู้นำแบบใช้พระคุณ 3 ผู้นำแบบพ่อพระ
1.1 ผู้นำแบบใช้พระเดช
(Legal
Leadership) ผู้นำแบบนี้เป็นผู้นำที่ได้อำนาจในการปกครองบังคับบัญชาตามกฎหมายมีอำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ราชการมาหรือเกิดขึ้นจากตัวผู้นั้น
หรือจากบุคลิกภาพของผู้นั้นเอง ผู้นำแบบนี้ได้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในกระทรวง
ทบวง กรม เช่น รัฐมนตรี อธิบดี หัวหน้ากอง และหัวหน้าแผนก เป็นต้น
1.2 ผู้นำแบบใช้พระคุณ (Charismatic Leadership) ผู้นำที่ได้อำนาจเกิดขึ้นจากบุคลิกภาพอันเป็นคุณสมบัติส่วนตัวของผู้นั้น
มิใช่อำนาจที่เกิดขึ้นจากตำแหน่งหน้าที่
ความสำเร็จในการครองใจและชนะใจของผู้นำประเภทนี้
ได้มาจากแรงศรัทธาที่ก่อให้ผู้อยู่ใต้บังคับเกิดความเคารพนับถือและเป็นพลังที่จะช่วยผลักดันให้ร่วมจิตร่วมใจกัน
ปฏิบัติตามคำสั่งแนะนำด้วยความเต็มใจ ตัวอย่างได้แก่ มหาตมะคันธี ซึ่งสามารถใช้ภาวะการเป็นผู้นำครองใจชาวอินเดียนับเป็นจำนวนล้าน
ๆ คน ได้
1.3 ผู้นำแบบพ่อพระ (Symbolic Leadership) ผู้นำที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายมิได้ใช้อำนาจหน้าที่ในการปกครองบังคับบัญชา
บุคคลเหล่านั้นปฏิบัติตามเพราะเกิดแรงศรัทธา
หรือสัญญาลักษณ์ในตัวของผู้นั้นมากกว่า เช่น พระมหากษัตริย์
ซึ่งเป็นองค์ประมุขและสัญลักษณ์ของแรงศรัทธาของประชาชนไทยทั้งมวล
2. ผู้นำตามการใช้อำนาจ
2.1 ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocratic Leadership) หรือ อัตนิยม คือใช้อำนาจต่าง ๆ ที่มีอยู่ในการสั่งการแบบเผด็จการโดยรวบอำนาจ
ไม่ให้โอกาสแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
ตั้งตัวเป็นผู้บงการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟังโดยเด็ดขาด
ปฏิบัติการแบบนี้เรียกว่า One Man Show อยู่ตลอดเวลาโดยไม่คำนึงถึงจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน เช่น ฮิตเลอร์
2.2 ผู้นำแบบเสรีนิยม
(Laisser-Faire
Leadership) หรือ Free-rein Leadership ผู้นำแบบนี้เกือบไม่มีลักษณะเป็นผู้นำเหลืออยู่เลย คือ
ปล่อยให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำกิจการใด ๆ ก็ตามได้โดยเสรี
ซึ่งการกระทำนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย กฎระเบียบหรือข้อบังคับที่กำหนดไว้
และตนเป็นผู้ดูแลให้กิจการดำเนินไปได้โดยถูกต้องเท่านั้น มีการตรวจตราน้อยมากและไม่ค่อยให้ความช่วยเหลือในการดำเนินงานใด
ๆ ทั้งสิ้
2.3 ผู้นำแบบประชาธิปไตย
(Democratic
Leadership) ผู้นำแบบนี้ เป็นผู้นำที่ประมวลเอาความคิดเห็น
ข้อเสนอแนะจากคณะบุคคลที่อยู่ใต้บังคับบัญชาที่มาประชุมร่วมกัน
อภิปรายแสดงความคิดเห็นในปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำเอาความคิดที่ดีที่สุดมาใช้ ฉะนั้น
นโยบายและคำสั่งจึงมีลักษณะเป็นของบุคคลโดยเสียงข้างมาก
3. ผู้นำตามบทบาทที่แสดงออก
จำแนกเป็น 3 แบบ คือ
3.1 ผู้นำแบบบิดา-มารดา (Parental Leadership) ผู้นำแบบนี้ ปฏิบัติตนเหมือนพ่อ-แม่ คือทำตนเป็นพ่อแม่เห็น ผู้อื่นเป็นเด็ก อาจจะแสดงออกมาในบทบาทของพ่อแม่ที่อบอุ่น ใจดี ให้กำลังใจ หรืออาจแสดงออกตรงกันข้ามในลักษณะการตำหนิติเตียนวิพากษ์ วิจารณ์ คาดโทษ แสดง
3.1 ผู้นำแบบบิดา-มารดา (Parental Leadership) ผู้นำแบบนี้ ปฏิบัติตนเหมือนพ่อ-แม่ คือทำตนเป็นพ่อแม่เห็น ผู้อื่นเป็นเด็ก อาจจะแสดงออกมาในบทบาทของพ่อแม่ที่อบอุ่น ใจดี ให้กำลังใจ หรืออาจแสดงออกตรงกันข้ามในลักษณะการตำหนิติเตียนวิพากษ์ วิจารณ์ คาดโทษ แสดง
3.2
ผู้นำแบบนักการเมือง (Manipulater Leadership) ผู้นำแบบนี้พยายามสะสมและใช้อำนาจ
โดยอาศัยความรอบรู้และตำแหน่งหน้าที่การงานของคนอื่นมาแอบอ้างเพื่อให้ตนได้มีความสำคัญและเข้ากับสถานการณ์นั้น
ๆ ได้ ผู้นำแบบนี้เข้าทำนองว่ายืมมือ
ของผู้บังคับบัญชาของผู้นำแบบนี้อีกชั้นหนึ่ง
โดยเสนอขอให้สั่งการเพื่อประโยชน์แก่การสร้างอิทธิให้แก่ตนเอง
3.3 ผู้นำแบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Leadership) ผู้นำแบบนี้เกือบจะเรียกว่าไม่ได้เป็นผู้นำตามความหมายทางการบริหาร
เพราะมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ Staff ผู้นำแบบนี้มักเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้เฉพาะอย่าง
เช่น คุณหมอพรทิพย์ มีความเชี่ยวชาญในการตรวจ DNAถ้าพิจารณาจากบุคลิกภาพอีริก เบิร์น จิตแพทย์ชาวอเมริกัน ได้วิเคราะห์โครงสร้างของบุคลิกภาพของคนว่ามีอยู่
3 องค์ประกอบ คือภาวะของความเป็นเด็ก (Child egostate ) ภาวะของการเป็นผู้ใหญ่ (Adult egostate ) และภาวะของความเป็นผู้ปกครอง (Parents
egostate) ก็จะมองผู้นำได้เป็น 3 แบบ คือภาวะความเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ พ่อแม่
ในแบบผู้นำ
คุณสมบัติของผู้นำ
ผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ได้
จะต้องเป็นมาตั้งแต่เกิด ไม่สามารถพัฒนาขึ้นมาภายหลังได้ (Leader are bone, not
made)
คุณสมบัติพื้นฐานที่ทำให้ผู้นำแตกต่างจากบุคคลทั่วไป
1. ความมุ่งมั่น (drive)
2. แรงจูงใจในการเป็นผู้นำ (Leadership
Motivation)
3. ความซื่อสัตย์ (Integrity)
4. ความเฉลียวฉลาด (Intelligence)
5. ความมั่นใจในตัวเอง (Self-confidence)
6. ความรอบรู้ในสิ่งที่ตนเองทำ (Knowledge of the Business)
สรุป คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้
ดังนี้ คือ
1. มีความเฉลียวฉลาด
2. มีการศึกษาอบรมดี
3. มีความเชื่อมั่นใจตนเอง
4. เป็นคนมีเหตุผลดี
5.
มีประสบการณ์ในการปกครองบังคับบัญชาเป็นอย่างดี
6. มีชื่อเสียงเกียรติคุณ
7.
สามารถเข้ากับคนทุกชั้นวรรณะได้เป็นอย่างดี
8. มีสุขภาพอนามัยดี
9.
มีความสามารถเหนือระดับความสามารถของบุคคลธรรมดา
10 มีความรู้เกี่ยวกับงานทั่ว ๆ
ไปขององค์กร หรือหน่วยงานที่ตนปฏิบัติอยู่โดยเฉพาะ
11.
มีความสามารถเผชิญปัญหาเฉพาะหน้า
ที่จะเกิดขึ้นในขณะ
ปฏิบัติงานให้ได้ทันท่วงที
12. มีความสามารถคาดการณ์

การบรรยาย
นางสาวประภาภรณ์ สายเนตร นำเสนอคำคม
ความรู้ที่ได้รับ
ได้รับเนื้อหาบทเรียนเเละทำกิจกรรมอื่นๆที่หลากหลาย เสริมการเรียนการสอนทำให้รู้สึกว่า
เรียนเเล้วไม่หาเกิดอาการเบื่อ เนื้อหาเริ่มเจาะลึกมากยิ่งขึ้น
ประยุกต์ใช้
สามารถนำไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาได้อย่างจริงเเละเพิ่มเติมข้อมูลที่สนใจได้ เเละยังทำให้เราสามารถรู้ถึงงานเกี่ยวกับบริหารบุคคลเเละการอยู่ร่วมกับผู่อื่นการทำงานร่วมกันการพัฒนนนาตนเอง
เเละบุคลิกภาพใตัวเองมากยิ่งขึ้น
การประเมิน
ประเมินตนเอง ทำความเข้าใจกับวิชาที่เรียนมากยิ่งขขึ้นถึงจะยากหรือเนื้อหาเยอะเเต่ก็ต้อง
ค่อยๆศึกษาเพิ่มมากขึ้นให้เข้าใจง่าาย
ประเมินเพื่อน เพืื่อนตั้งใจเรียนเเละฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหาที่เรียนมีการถ่ายรูปเก็บข้อมูลในการ
ทำงานเเละออกไปพูดคำคม เกี่ยวกับผู้บริหารสถานศึกษาที่ตนคิดว่าดีเเละควรเป็น
ยังไงเเละครูปฐมวัยควรบริหารการทำงานเเบบไหน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์เจาะลึกเนื้อหาเพิ่มมากขึ้นในการสอนวันนี้เเละให้ออกไปพูดคำคมโดนใจ
3 คำคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น